การเพิ่มขีดความสามารถเชิงการแข่งขันในธุรกิจไทย Competitiveness

ก่อนอื่นผมต้องขอแนะนำคำว่า ขีดความสามารถเชิงแข่งขันเสียก่อน ในโลกปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงของการค้า ความต้อง
การของลูกค้าอย่างรวดเร็ว เช่น เงินบาทลอยตัวมีผลต่อต้นทุนเพราะสินค้าไทยมีสัดส่วนการนำเข้าปัจจัยเพื่อการ ผลิตสูง 40-60%
ดอกเบี้ยผันแปรเงินฝากลด เงินกู้หายาก น้ำมันราคาสูงขึ้นทุกวัน ตลาดหุ้นตกต่ำ การค้าแบบเสรีที่ลดกำแพงภาษีและเปิดโอกาสให้
คู่แข่งต่างชาติ มาแข่งขันอย่างเสรี ทั้งในประเทศไทยและในเวทีสากล

ระบบเศรษฐกิจแบบเปิดทำให้เราต้องปรับตัวแข่ง ทั้งในด้านพัฒนาความสามารถ ความเชี่ยวชาญ เพื่อช่วงชิงตลาด ทั้งตลาดเดิม
ที่เราเป็นเจ้าของ และแสวงหาตลาดใหม่ๆ เพื่อขยายกิจการ ที่เห็นได้ชัดคือ ผลิตภัณฑ์จีนมีราคาถูกกว่าของเราอยู่มาก ทั้งอาหารแปรรูป
เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ เสื้อผ้า จักรยานยนต์ เครื่องจักรกลการเกษตร ตลาดใหญ่ทั้งสหรัฐและ
ญี่ปุ่น เริ่มตีบตันทุกที

ในอดีตผลิตภัณฑ์ไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูงในตลาดโลก เนื่องจากเรามีค่าแรงถูกจึงมีต้นทุนการผลิตต่ำโดยเฉพาะ
อุตสาหกรรมที่เน้นใช้ แรงงาน Labor Intensive เช่น เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า หรือเรามีแหล่งทรัพยากรอันอุดม Resource Based
Industry เช่น อาหารกระป๋อง อัญมณี ยางและผลิตภัณฑ์ยาง

แต่ในปัจจุบันเราจะพบว่าจีนแดง อินโดนีเซีย เวียดนาม มีค่าแรงที่ถูกกว่า ไทยทั้งสิ้น ทรัพยากรของเวียดนามเองก็มีมากมาย
พร้อมประกาศว่าใครจะมาลงทุนในประเทศเขาต้อง มาเพิ่มมูลค่าเพิ่ม ไม่ใช่มาเอาของดิบไปขาย ต้องนำไปแปรรูปเสียก่อนจึงจะส่ง
ออกได้ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างฉลาดและคุ้มค่า มีการเน้นนำเทคโนโลยีมาใช้ ทั้ง การเพาะปลูก การพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำ
Upstream การเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมปลายน้ำ Downstream มีการสร้างการเชื่อมโยง เครือข่ายธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมที่มี
ในหลายพื้นที่ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อพัฒนา ขบวนการสรรหาร่วม วิจัยออกแบบร่วมขบวน การผลิตร่วม ควบคุมคุณภาพ
มาตรฐานร่วมกัน และการตอบสนองต่อความต้องการตลาดได้อย่างรวดเร็ว Quick Response ตลอดสาย การผลิตจากต้นน้ำสู่
ปลายน้ำ และข้อมูลความต้องการตลาดจากปลายน้ำ หาต้นน้ำ Supply Chain

การดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปในจีน ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาล Foreign Direct investment FDI พร้อมๆกับ
บีบให้ต่างชาติถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ ประเทศเหล่านี้ยังกำหนด ต่างชาติไม่ให้ขยายสาขาหรือไม่อนุญาตต่างชาติให้มีเครือข่ายการ
จัดจำหน่าย เอง เป็นการยึดช่องทางการตลาดและการขายไว้หมด บริษัทจัดจำหน่ายส่วนใหญ่มีรัฐบาลจีนทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น
เข้าไปหุ้นด้วย ทั้งสิ้น แม้จีนเข้า WTO แต่การบังคับรัฐบาลจีนจะทำได้แค่ไหน

ดังนั้นในภาพรวมแล้วธุรกิจไทยคงต้องแสวงหาทางรอดใหม่ คงพึ่งพาค่าแรงถูก การผลิตต้นทุนถูก เป็นเจ้าของทรัพยากรอันอุดม
ที่ปู่ย่าตายายให้ไว้ไม่ได้แล้ว เราต้องพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพของเราเสียใหม่ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สู่สภาวะ
การแข่งขันใหม่ของโลก ก่อนที่ธุรกิจของท่านจะเกิดอาการตกยุค เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการในการดำเนินธุรกิจเสียใหม่ที่เรียกว่า
คิดใหม่ ทำใหม่ก็คงจะไม่ผิด แต่ผมอยากจะสรุปภาพขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยเป็นกลุ่มๆ ดังตาราง จะเห็นว่า

    1. ประเทศไทยในปัจจุบันการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มีเพียง 20% เท่านั้น กลุ่มใหญ่จริงๆ กลายเป็น
      อิเล็กทรอนิกส์หรือ New Economy ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี Technology Based Industry ไปเสียแล้ว ท่านจะไม่พัฒนา
      ขีดความสามารถใหม่ก็ไม่ได้เสียแล้ว เน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างชาติ รวมทั้งการออกแบบ การทดสอบ ตรวจ
      สอบ การทำตามมาตรฐานการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่เหมือนที่รัฐบาลจีน ญี่ปุ่นสนับสนุนหน่วยงานพัฒนาความ
      รู้ทางเทคโนโลยีส่งคนไปอยู่ซิลิกอนวอลเล่ย์ ศึกษาด้านไอทีและซอฟแวร์พัฒนาไฮเทคปาร์คและซอฟแวร์ปาร์ค

    2. ส่วน ธุรกิจที่เน้นแรงงานคงต้องปรับตัวทั้งธุรกิจอาหารและธุรกิจแฟชั่นที่ใช้ แรงงานรวมกันถึง ครึ่งหนึ่งของแรงงานภาค
      อุตสาหกรรม ต้องปรับเป็นแรงงานที่มีฝีมือมีคุณภาพมีทักษะความชำนาญ ในการออกแบบและการผลิตทั้งการตกแต่งเย็บ
      ขึ้นรูป มาตรฐานการผลิต และคุณภาพของผลงาน เพิ่ม Productivity ให้สูง มีความยืดหยุ่นในการผลิตคือสามารถทำงาน
      ได้หลายอย่างและมีความ ชำนาญหลายอย่าง พร้อมกันการบริหารองค์ความรู้ให้พนักงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งยวด

    3. อุตสาหกรรมพื้นฐานพวกปิโตรเคมี เคมี พลาสติก เหล็ก ยาง เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง มีการบริหารต้นทุน
      เงินที่ดี ใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง การเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำ อุตสาหกรรมนี้คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4
      ของจีดีพีภาคการผลิต จึงมีความสำคัญอย่างมาก

กลุ่มธุรกิจ

สัดส่วนยอด

ส่งออกไทย

สัดส่วนของจีดีพี

การผลิตไทย

สัดส่วนการจ้างงานใน

ภาคอุตสาหกรรม

อาหาร

20.0%

18.6%

29.0%

แฟชั่น สิ่งทอ

เครื่องหนัง อัญมณี

เฟอร์นิเจอร์

10.0%

19.2%

20.6%

ยานยนต์ ชิ้นส่วน

อะไหล่

4.4%

ns

4.6%

อิเล็กทรอนิกส์

เครื่องใช้ไฟฟ้า

วงจร ไมโคชิพ

34.5%

15.0%

12.2%

อุตสาหกรรมพื้นฐาน

ยาง ปิโตรเคมี พลาสติก

เหล็ก เคมี

11.49%

26.9%

25.1%

เครื่องจักร

การเกษตร

ns

9.5%

4.7%

Source NIS & NESDB

จากการศึกษาวิจัย ความสามารถเชิงแข่งของสินค้าไทยเทียบกับต่างชาติ Thailands International Competitiveness ของ
Dr Chaiyuth Punyasavatsut ได้แบ่งกลุ่มสินค้าไทยเป็น 4 กลุ่มมาตรฐาน ISIC และความสามารถเชิงแข่งขัน

    1. ธุรกิจที่มีความสามารถเชิงแข่งขันดี มีธุรกิจ เสื้อผ้า แฟชั่น อาหารกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
      เครื่องหนังรองเท้า เฟอร์นิเจอร์ อัญมณี นาฬิกา

    2. ธุรกิจที่มีความสามารถเชิงแข่งขัน ปานกลาง อุปกรณ์สื่อสาร โทรทัศน์ วิทยุ จักรยาน จักรยานยนต์ อุปกรณ์กีฬา
      น้ำตาล อาหารสัตว์ ขนมหวานและลูกกวาด

    3. ธุรกิจที่มีความสามารถชิงแข่งขันจำกัด ด้ายผ้าทอ เหล็ก เหล็กกล้า เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์

    4. ธุรกิจที่มีความสามารถเชิงแข่งขันต่ำ ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี พลาสติก กระดาษ ยาสูบ เวชภัณฑ์ และยา เคมี สี
      เครื่องสำอาง แก้วกระจก เหล็ก รถยนต์ ไม้ สุรา เครื่องจักรเกษตร

ปัญหา ความสามารถเชิงการแข่งขันไทย ในอดีตไม่ว่าจะเป็นเรื่อง แรงงานฝีมือทักษะความชำนาญการเฉพาะด้าน การออกแบบ
การควบคุมคุณภาพมาตรฐานการลงทุนในเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยี ฐานะการเงินไม่แข็งแรง ความสามารถในการบริหารและ
Productivity การบริหารต้นทุน การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมต้นน้ำสู่ปลายน้ำตลอด Supply Chain การตอบสนองต่อตลาดอย่างรวดเร็ว
Quick Response การพัฒนาตลาดและช่องทางจัดจำหน่าย การสร้างแบรนด์และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า พันธมิตรธุรกิจ
ผู้ลงทุน คงต้องว่ากันในรายละเอียดต่อไป

แต่ทั้งหมดนี้คือการสร้างความสามารถ เชิงแข่งขันธุรกิจไทย ที่ต้องสร้าง ต้นแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่ทิ้งกฎเกณฑ์และกติกาเดิมที่ล้า
สมัยไม่ทันต่อเหตุการณ์ออกไป สร้างแนวคิดใหม่ในการทำธุรกิจที่แตกต่างจากเดิม และแตกต่างจาก คู่แข่งต้องปรับให้ทันเปลี่ยนให้
เร็ว ก่อนที่เกิดอาการตกยุคและธุรกิจของท่านจะผุพังเสียก่อน เราจะกล่าวถึงการสร้างต้นแบบธุรกิจใหม่ และการสร้างความเป็นต่อทาง
ธุรกิจในฉบับหน้าครับ

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง: http://www.mga.co.th/knowhow-01.html