Benchmarking : การเปรียบเทียบสมรรถนะ

ความหมายของ Benchmarking

- วัดรอยเท้าช้าง

- การเปรียบเทียบสมรรถนะ

- เป็นกระบวนการซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน และการปฏิบัติของผู้อื่น เพื่อนำมาเปรียบเทียบ
กับ องค์กร ของเรา เพื่อการเรียนรู้และพัฒนางานให้ดีกว่าเดิม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่สำคัญ
2 ส่วน คือ

1.ความถ่อมตัว (Humility)

2.ความมีปัญญา (Wisdom)

How good is the companys quality relative to that of competitors

Benchmarking เป็นกระบวนการในการดำเนินธุรกิจที่ทำให้เรารู้จักตัวของเราเอง พิจารณาวิเคราะห์ว่าตัวของ
เราเองเป็นอย่างไร อยู่ที่ใด เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ดีที่สุดใน อุตสาหกรรม หรือในโลกว่าต่างกันราวฟ้ากับดิน
เพียงใด แล้วกำหนดการเดินทาง กรรมวิธีที่จะปรับสภาพกระบวนการต่างๆทางธุรกิจ เพื่อให้อยู่ในแนวหน้าเท่ากับ
หรือดีกว่าคนที่เก่งที่สุดในปัจจุบัน อาจเรียกได้ว่า คนที่ทำเบ็นมาร์คคนแรกๆในประวัติศาสตร์โลกอาจเป็น ซุนวู
ซึ่งเคยกล่าวไว้ว่า
รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

รศ.ดร.พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ

วัดรอยเท้าช้าง Benchmarking

- Benchmarking is a continuous systematic process that measures the companys quality (products,
services and practices) against those of industry leader.

- Companies use benchmarking to understand better how outstanding companies do things so that they
can improve their own operations.

(จาก Managing Manufacturing Operations by Dr.Berman Kayis, UNSW,Australia)

การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะ คือ กระบวนการในการวัดผลและเปรียบเทียบกับกระบวนการธุรกิจขององค์กรอื่น
อย่างต่อเนื่อง กระบวนการในการเปรียบเทียบจะทำการเปรียบกับองค์กรที่เป็นผู้นำในด้านนั้น โดยได้รับข้อมูลที่
สามารถนำไปช่วยวินิจฉัยองค์กรและนำไปสู่การปรับปรุงองค์กรต่อไป

(จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์ม อัฐชัย พิริยะวัฒน์ วศิวกรรมสาร, มิถุนายน 2543)

Typical measures used in benchmarking

- Cost per unit

- Process time per unit

- Customer retention rates

- Revenue per unit

- Return on investment

- Customer satisfaction levels

- Etc.

ประวัติ Benchmarking

- 1960s บริษัทส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่การวิเคราะห์ผลดำเนินการของปีปัจจุบันเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งมุ่งเน้นการวิเคราะห์
ด้านการเงิน ทำให้ องค์กร ทราบผลการพัฒนาปีต่อปี แต่ไม่ได้นำไปสู่พัฒนาการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง

- 1970s การบริหารมุ่งเน้นไปที่กลยุทธ์และการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรการวิเคราะห์คู่แข่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ทั่วไป
ของระดับผู้จัดการ โดยทั่วไปแล้วถ้าองค์กรมีผลดำเนินงานดีกว่าค่าเฉลี่ยที่กำหนดไว้ก็ถือว่าผลการดำเนินงานเป็น
ที่น่าพอใจ

- 1980s บริษัท Xerox ได้แนะนำ Benchmarking โดยเน้นการเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบ
ผลดำเนินการในหลายๆด้านมากกว่าการวัดผลทางด้านการเงินเพียงอย่างเดียว โดยการ
Benchmarkingในช่วงนี้จะไม่มีการ
แบ่งปันข้อมูลให้ผู้อื่น หรือแบ่งปันข้อมูลแก่กันน้อยมาก

- 1990s ปัจจุบันมุ่งเน้นไปที การ Benchmarkingด้านกระบวนการซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานและการ
ปฏิบัติของผู้ที่เราเปรียบเทียบเพื่อเรียนรู้ในการพัฒนางานให้ดีกว่าเดิม โดยร่วมมือกัน แบ่งปันข้อมูลรวมทั้งเป็นการค้นหาวิธีการ
และนวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำงานขององค์กร

ประเภทของ Benchmarking

- การเปรียบเทียบในด้านอะไร

- การเปรียบเทียบกับใคร

การเปรียบเทียบในด้านอะไร

1. Performance Benchmarking

การเปรียบเทียบทางด้านผลการดำเนินการ (ส่วนมากเป็นการเปรียบเทียบด้านการเงิน แต่สามารถเปรียบเทียบด้าน
การปฏิบัติการได้ด้วย
) วัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรสามารถตัดสินใจในการหาวิธีการทำให้องค์กรมีผลการดำเนินการ
ที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น

2. Process Benchmarking

การเปรียบเทียบวิธีปฏิบัติการสำหรับกระบวนการทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์อยู่ที่การเรียนรู้จากองค์กรที่ดีที่สุดใน
ด้านนั้นเพื่อการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจของตนเอง

3. Strategic Benchmarking

การเปรียบเทียบการเลือกและการควบคุมการใช้กลยุทธ์โดยเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม
ข้อมูลในการนำไปปรับปรุง การวางแผน และตำแหน่งของกลยุทธ์ขององค์กรตนเอง

การเปรียบเทียบกับใคร

1. Internal Benchmarking

2. Competitive Benchmarking

3. Functional Benchmarking

4. Generic Benchmarking

1. Internal Benchmarking

- การตั้งเป้าภายในและหาวิธีปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น โดยเทียบภายในกับตัวเอง หรือ เปรียบกับหน่วยงาน หรือ
แผนกที่มีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกัน ภายในบริษัทเดียวกัน ซึ่งอาจจะสังกัดคนละหน่วยงาน หรือ อยู่คนละที่
หรือ อยู่คนละโรงงาน

ไม่เป็นผลดีในระยะยาวเหมือนกบในกะลาครอบ

2. Competitive Benchmarking

- เทียบกับคู่แข่งโดยตรงของเรา (Direct competitors) ในอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการเหมือนกัน

- เป็นส่วนต่อขยายจากการวิเคราะห์คู่แข่ง โดยมุ่งไปที่คู่แข่งที่อยู่ในระดับที่ดีที่สุด แทนที่จะวิเคราะห์เทียบกับ
ผลดำเนินงานโดยเฉลี่ยของอุตสาหกรรม

3. Functional Benchmarking

- เปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีธุรกิจคล้ายคลึงกัน ที่ไม่ใช่คู่แข่งเช่น ลูกค้า ผู้ส่งมอบ

- เทียบกับองค์กรที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน (Industry Leader) พยายามดันตนเองให้ทัดเทียมกับเขา
หรือเท่ากับเขาโดยการเรียนรู้การทำงานจากเขา

- เราไม่มีโอกาสเป็นผู้นำที่แท้จริง

4. Generic Benchmarking

- เทียบกับบริษัทนอกกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน อุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกันหรือต่างประเภท เพราะถ้าเราเป็นผู้นำใน
อุตสาหกรรมของเราในด้านนั้นๆ แล้ว ถ้าจะปรับปรุงต่ออาจต้องมองออกไปนอกกรอบอุตสาหกรรมของตนเอง เพื่อหา
ผู้ที่เด่นในอุตสาหกรรมอื่นๆ

4 ขั้นตอนพื้นฐานในการทำ Benchmarking

1. Planning

2. Analysis

3. Integration

4. Action

(จาก Managing Manufacturing Operations by Dr.Berman Kayis)

1. Plan (การวางแผน)

- ผู้บริหารให้การสนับสนุน

- มองหาจุดอ่อนของเรา จุดไหนบ้างที่ควรปรับปรุงแก้ไข ทั้งจุดอ่อนเล็กๆน้อยๆและจุดอ่อนที่เป็นปัญหาหลัก

- กำหนดหัวข้อที่จะทำเบ็นช์มาร์ค โดยให้ทำส่วนที่จะเป็นผลหลักโดยตรงที่จะปรับปรุงองค์กรก่อน

- กำหนดขอบเขตของการที่จะทำการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบสร้างทีมงานซึ่งมาจากหลายๆส่วนในองค์กร
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน
(Cross- Functional Team)

- ทีมงานวางแผนการทำเบ็นช์มาร์ค เริ่มต้นหมุนวงจร PDCA ให้ละเอียดรัดกุมว่าจะเริ่มปรับปรุงแก้ไขในพารามิเตอร์
ใดบ้าง ทำไมอย่างไร เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายเดียวกัน

2. Data Collection & Research (เก็บข้อมูลและทำการวิจัย)

- วิเคราะห์และจดบันทึกกระบวนการภายในที่เราเลือกจะทำเบ็นช์มาร์คกับผู้อื่น เพื่อให้เข้าใจและมองถึงจุดอ่อน
และจุดแข็งในตัวเอง

- ในแต่ละจุดที่สำคัญ พยายามวิจัยหาบริษัทหรือองค์กรที่มีจุดแข็งในจุดอ่อนของเรา และใช้มาตรฐานของเขา
เป็นเบ็นช์มาร์คเริ่มต้นของเรา

- ศึกษาข้อมูลขององค์กรนั้นๆ, เยี่ยมชม, แลกเปลี่ยนความคิดเห็น, แลกเปลี่ยนเอกสารข้อมูล

3. Analysis (การวิเคราะห์)

- ปรับข้อมูลให้มีฐานอย่างเดียวกัน

- เปรียบเทียบกระบวนการในองค์กรของเรากับเบ็นช์มาร์คอันนั้นว่ามีความแตกต่างกันมาก น้อยเพียงใด
แล้วหาสาเหตุความแตกต่าง ข้อได้เปรียบ เสียเปรียบของระบบของเราและเขาวิเคราะห์หาวิธีการใหม่
ที่จะทำให้กระบวนการใหม่ของเราดีกว่าเบ็นช์มาร์คที่ตั้งไว้

- วางเป้าหมายและสร้างวิธีวัดผลการดำเนินงาน เช่น ด้านคุณภาพด้านเวลา ด้านค่าใช้จ่าย

4. Implementation & Review (การลงมือปฏิบัติและการทบทวนแก้ไข)

- จัดทำแผนดำเนินการต่อจากขั้นที่ 3

- ผู้มีอำนาจตัดสินใจอนุมัติดำเนินการ

- เตรียมทีมงานในการทำตามแผน

- กระจายแผนลงไปสู่ทีมงานทั้งหมดให้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายประโยชน์ที่คาดจะได้รับ

- ปฏิบัติตามกระบวนการใหม่

- ติดตามประเมินผลเป็นระยะๆ เช่น ใช้ SPC

- ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแผนให้เข้ากับสถานการณ์ ในกรณีที่จำเป็นเพื่อให้เดินทางเข้าหาเบ็นช์มาร์ค
ใหม่ที่เรากำหนดไว้

- ระลึกอยู่เสมอว่า กระบวนการดังกล่าวเป็นการทำงานอย่าง

The benchmarking process is similar to the Plan-Do-Check-Action cycle in continuous improvement,
but benchmarking focuses on setting qualitative goals for continuous improvement.

1. Planning

- Identify the process to be benchmarked, identify the firm(s) to be used for comparison, determine
the measures of process performance for analysis, and collect the data.

2. Analysis

- Determine the gap between your firms current performance and that of the benchmark firm(s), and
identify the causes of significant gaps.

3. Integration

- Establish goals, and obtain the support of managers who must provide the resources for accomplishing
the goals.

4. Action

- Develop cross-functional teams of those most affected by the changes, develop action plans, team
assignments, implement the plans, monitor progress and recalibrate benchmarks as improvements are made.

แนวทางการมุ่งเน้น (Focus) ที่สำคัญของ Benchmarking

สามารถเน้นแนวทาง ได้ 5 แนวทางคือ

1. การมุ่งเน้นไปยังลูกค้า

2. การมุ่งเน้นไปยังคุณภาพภายใน

3. การมุ่งเน้นไปยังองค์การ

4. การมุ่งเน้นไปยังราคาและผลิตภาพ

5. การมุ่งเน้นไปยังเวลาและกระบวนการ

ขั้นตอนของการทำ Benchmarking

ขั้นตอนที่ 1 ตัดสินใจที่จะทำการทำ Benchmarking ในเรื่องใด

ขั้นตอนที่ 2 ระบุชื่อคู่เปรียบเทียบในการทำ Benchmarking

ขั้นตอนที่ 3 การรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์

ขั้นตอนที่ 5 ปฏิบัติการเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์

ขั้นตอนที่ 6 ทำอย่างต่อเนื่องและนำเทคนิคการทำงานเข้าช่วย เช่น PDCA, SPC techniques

Technological benchmarking

_ Identification metrics for the benchmarking process

_ Identification of enterprises to be compared

_ Data methodology and collection

_ Analysis of current performance and differences

_ Forecast of future performance levels

_ Communication of findings of the process

_ Functional goal establishment

_ Development of enterprise action plan

_ Implementation and monitoring of action plan

_ Recalibration of the developed benchmarks

ที่มา: Benchmarking โดย ดร. อภิชาต โสภาแดง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่