**กฎหมายที่ควรรู้ สำหรับธุรกิจ SMEs**

ในบริษัทจำกัดนั้น ผู้มีอำนาจดำเนินกิจการแทนบริษัท คือ คณะกรรมการแต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลการจัดการของที่
ประชุมผู้ถือหุ้น ที่ประชุมผู้ถือหุ้นย่อมมีอำนาจสูงสุดในบริษัทจำกัด การประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัดมีประเภท คือ 1. การประชุม
สามัญ 2. การประชุมวิสามัญ

การประชุมสามัญ คือ การประชุมประจำปีของบริษัทจำกัด ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยสาระ
ที่จะต้องประชุมคือ พิจารณาการดำเนินกิจการของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมา แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่เข้าแทนกรรมการที่ออกตาม
วาระ แต่งตั้งผู้สอบบัญชีคนใหม่และอนุมัติงบดุลของบริษัท ส่วนการประชุมวิสามัญนั้น จะมีขึ้นเมื่อใดและจะประชุมเมื่อใดเรื่องใด
ก็ได้สุด แต่กรรมการจะเห็นสมควร

ถ้าไม่มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายให้นับองค์ประชุมผู้ถือหุ้น ต้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของทุน
บริษัท แต่อย่างไรก็ตาม ต้องมีผู้ถือหุ้นเข้าประชุมไม่น้อยกว่า 2 คน มิฉะนั้น จะไม่ถือเป็นการประชุม

ในการประชุมผู้ถือหุ้น ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ หากคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมมีอำนาจชี้ขาด
อีก 1 เสียง แต่ ในกรณีสำคัญบางเรื่อง กฎหมายบังคับให้มติของที่ประชุมต้องเป็นมติพิเศษเท่านั้น เช่นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขหนัง
สือบริคณห์สนธิ การเพิ่มทุนและการลดทุนของบริษัท การควบคุมบริษัทและการเลิกบริษัท

มติพิเศษ หมายความว่าเป็นมติที่ได้จากการประชุมผู้ถือหุ้น 2 ครั้ง ติดต่อกัน โดยการประชุมครั้งแรกต้องได้คะแนนเสียง
ไม่น้อยกว่า
3 ใน 4 ของเสียงทั้งหมด เมื่อได้มีการประชุมครั้งแรกแล้ว จะต้องมีการประชุมครั้งที่ 2 ห่างจากการประชุมครั้งแรกไม่
น้อยกว่า
14 วัน แต่ไม่เกิน 6 สัปดาห์ และในการประชุมครั้งที่ 2 ต้องได้คะแนนเสียงในการประชุมไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของคะแนน
เสียงทั้งหมด โดยต้องมีมติยืนตามการประชุมครั้งแรก

การบอกกล่าวนัดประชุมต้องแจ้งผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยการส่งจดหมายทางไปรษณีย์การนับจำนวน
7 วัน มีให้นับวันวันแรกที่บอกกล่าวกับวันประชุม เช่น แจ้งนัดวันประชุมวันที่ จะประชุมได้ต้องเป็นวันที่ 9

เครื่องหมายการค้า (trademark)

เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า นั้น ๆ เป็นของเจ้า
ของเครื่องหมายการค้า หรือผู้ผลิตคนใด
(จะต้องจดทะเบียนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์)

เครื่องหมายการค้าต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ

ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า หมายถึง ลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบ และเข้าใจได้ว่า สินค้าที่
แตกต่างกันแล้วยังจะบ่งถึงแหล่งกำเนิดของสินค้าและความเป็นเจ้าของอีกด้วย

ลิขสิทธิ์ (copyright)

สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น (จะต้องจดทะเบียนต่อ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
กระทรวงพาณิชย์
)

สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์

เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่กระทำการใด ๆ ต่องานอันมีสิทธิ์ของตนดังต่อไปนี้ มีสิทธิ์ในการ กระทำซ้ำ ดัดแปลง
จำหน่ายให้เช่า คัดลอก เลียนแบบทำสำเนา การทำให้ปรากฎต่อสาธารณชน หรืออนุญาต ให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ของตน โดยมีหรือไม่มี
ค่าตอบ แทนก็ได้ นอกจากสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับ ความคุ้มครอง ในรูปของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว กฎหมาย
ยังคุ้มครองสิทธิอื่น ๆ ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมด้วย โดยกำหนดว่าผู้สร้างสรรค์มีสิทธิ์ที่จะแสดงตนว่าเป็นผู้สร้างสรรค์และห้ามผู้อื่น
มิให้กระทำการบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือกระทำการให้เกิดการความเสียหายต่อชื่อเสียงของผู้สร้างสรรค์

อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์

งานทั่วๆ ไป ลิขสิทธิ์จะมีตลอดอายุผู้สร้างสรรค์และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีเป็นนิติบุคคล
ลิขสิทธิ์จะมีอายุ
50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์นั้นขึ้น งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรืองานแพร่เสียง แพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอายุ
50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น งานที่สร้างสรรค์โดยการจ้างหรือตามคำสั่ง มีอายุ 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น งานศิลป
ประยุกต์ ลิขสิทธิ์มีอายุ
25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นกรณีได้มีการโฆษณางานเหล่านั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์
มีอยู่ต่อไปอีก
50 ปี นับแต่โฆษณา ครั้งแรก ยกเว้นในกรณีศิลปประยุกต์ ให้มีลิขสิทธิ์ต่อไปอีก 25 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก

ผลภายหลังลิขสิทธิ์หมดอายุ

งานนั้นตกเป็นสมบัติของสาธารณะ บุคคลใดๆ สามารถใช้งานนั้น ๆ โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์


สิทธิบัตร (patent)

 

หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบตามกฎหมายที่กำหนด โดยจดทะเบียนต่อกรม
ทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตร

ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คือเป็นการประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคยมีใช้แพร่หลายมาก่อนในประเทศ หรือ
ไม่เคยเปิดเผยสาระสำคัญในเอกสาร หรือสิ่งพิมพ์มาก่อนทั้งใน และนอกประเทศ หรือยังไม่เคย ได้รับสิทธิบัตรมาก่อน

ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นประดิษฐ์สูงขึ้น คือ มีลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคหรือ ไม่เป็นการประดิษฐ์ที่อาจ
ทำโดยง่ายต่อผู้มีความรู้ในระดับธรรมดา ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม
หรือหัตถกรรม

อายุสิทธิบัตร

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วัน
ขอรับสิทธิบัตร

การดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า, ลิขสิทธิ์, สิทธิบัตรและคดีที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ

จะต้องดำเนินคดีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ อายุความในการฟ้องคดีเช็คนั้น หากเป็นคดีแพ่ง
ผู้ทรงเช็ค จะต้องฟ้องภายใน
1ปี นับแต่วันที่ ๆ ลงในเช็คนั้น ไม่ว่าจะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินเมื่อใดก็ตาม แต่หากเป็น การฟ้องคดี
อาญา ผู้เสียหาย
(ผู้ทรงเช็ค) จะต้องฟ้องคดีหรือแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ธนาคารฯ
ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ไม่ใช่วันที่ ๆ ลง ในเช็คเพราะอาจจะเป็นคนละวันกัน เนื่องจากความผิดตามเช็ค เป็นความผิดอัน
ยอมความได้ เช็คที่ผู้ทรงไม่ได้ยื่นต่อธนาคารฯ ภายใน
6 เดือน นับจากวันที่ที่ลงในเช็ค ธนาคารฯ จะไม่จ่ายเงินตามเช็คให้ก็ได้
บุคคลที่ต้องรับผิดในความผิดทางอาญาเกี่ยวกับเช็ค คือ ผู้ที่ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเท่านั้น บุคคลที่ลงชื่อในฐานะผู้สลักหลัง
หรือผู้อาวัล หรือผู้รับรอง ไม่มีความผิดทางอาญา แต่ในทางแพ่งบุคคลทุกคนที่ลงลายมือชื่อในเช็คจะต้องร่วมกันรับผิดในการ
ใช้เงินตามเช็คนั้น ให้แก่ผู้ทรงตามสิทธิและฐานะของผู้ที่ลงลายมือชื่อนั้น ความผิดทางอาญาสำหรับผู้สั่งจ่ายเช็คนั้น มีโทษอย่าง
สูงสุด จำคุกไม่เกิน
1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มูลค่าหนี้ที่จะฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คได้ ต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับกันได้ตามกฎหมายประกอบกับ ผู้สั่งจ่ายเช็ค
ได้สั่งจ่ายเช็ค โดยมีเจตนากระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกี่ยวกับกับการใช้เช็คประกอบด้วย

การแลกเช็ค (หมายถึงเอาเช็คมาแลกเงินสด) หรือการจ่ายเช็คชำระหนี้เงินกู้ซึ่งไม่มีหลักฐานการกู้ยืม เป็นหนังสือไม่
สามารถฟ้องคดีอาญาได้ เพราะเป็นหนี้ซึ่งไม่มีอยู่จริงหรือไม่สามารถบังคับกันได้ตามกฎหมาย

ความผิดเกี่ยวกับเช็คนั้น ผู้ต้องหาสามารถประกันตัวต่อพนักงานสอบสวนได้ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจที่จะสั่งไม่ให้
ประกัน ความผิดทางอาญาเกี่ยวกับเช็คนั้นจะ ระงับหรือเลิกกันเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คได้ชำระเงินตามเช็คให้กับผู้ทรงเป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งสามารถกระทำได้ตลอดเวลาจนกว่าคดีจะถึงที่สุดแม้ว่าโจทก์จะไม่ยินยอมถอนฟ้องให้ก็ตาม แต่ทางกฎหมายถือว่าคดีอาญา
ได้ระงับลงเช็คที่ออกให้เพื่อประกันการชำระหนี้ไม่สามารถนำไปฟ้องคดีอาญาได้ เช็คที่จะนำไปฟ้องคดีอาญา ต้องออกให้เพื่อ
การชำระหนี้เท่านั้น เช็คที่ผู้สั่งจ่ายไม่ได้ลงวันที่ด้วยตนเอง ไม่สามารถฟ้องคดีอาญาได้ถึงแม้ว่าผู้ทรงจะได้เป็นผู้ลงวันที่เอง ตาม
วันที่ที่ถูกต้องก็ตาม เพราะถือว่าวันที่ ที่เป็นองค์ประกอบความผิดตามเช็คนั้นผู้ออกเช็คมิได้เป็นคนกระทำขึ้น กรรมการผู้มีอำนาจ
กระทำการแทนบริษัท แม้ว่าจะออกเช็คในนามบริษัทก็ตาม ก็ถือว่ามีความผิดทางอาญาฐานร่วมกระทำความผิดด้วย
การตกเป็น
บุคคลล้มละลายนั้น ผู้ที่ถูกฟ้องล้มละลายหากเป็นบุคคลธรรดาต้องมีหนี้รวมกันไม่น้อยกว่า
1,000,000 บาท หากเป็นนิติบุคคล
ต้องมีหนี้รวมกันไม่น้อยกว่า
2,000,000 บาท มิฉะนั้นเจ้าหนี้จะฟ้องล้มละลายไม่ได้

บุคคลที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายจะหลุดพ้นจากการล้มละลายเมื่อพ้นกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่ศาลมีคำพิพากษา
ไม่ว่าบุคคลนั้นจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ก็ตาม ความผิดทางอาญา หมายถึงกรณีผู้กระทำความผิดต้องชดใช้ค่าเสีย
หาย หรือเงินหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับผู้เสียหาย แต่ไม่ต้องติดคุกติดตะราง เมื่อบุคคลใดตาย ทรัพย์สินของบุคคลนั้น
ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมหรือ ผู้รับพินัย กรรมซึ่งเรียกว่าทรัพย์มรดก ดังนั้นคำว่า
มรดก จะใช้สำหรับการรับ ทรัพย์สินของ ผู้
ตายเท่านั้น

หากผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินแก่บุคคลใดพินัยกรรมย่อมตัดบุคคลอื่น ทั้งหมดที่เป็นทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก
ผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะต้องเป็นไปตามพินัยกรรมเท่านั้น พินัยกรรมอาจยกทรัพย์สินให้กับบุคคลใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุตร
ภรรยา

พินัยกรรมนั้น ต้องทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ พินัยกรรมที่ผู้ตายเขียนด้วยลายมือของตน
เองทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องมีพยานก็ได้ แต่ต้องลงชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ หากเป็นพินัยกรรมที่ไม่ได้เขียนเอง เช่น ใช้พิมพ์ดีด จะ
ต้องมีพยานอย่างน้อย
2 คน ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมนั้น บุคคลผู้เป็นพยานในพินัยกรรม จะถูกกำหนดห้าม
มิให้รับทรัพย์สินตามพินัยกรรม

การจะเป็นพินัยกรรมได้ จะต้องมีข้อความกำหนดการตกทอดของทรัพย์สินของผู้ตาย ว่าจะตกได้แก่บุคคลใด เมื่อผู้ทำพินัยกรรม
ถึง แก่ความตาย หากมีข้อมความเพียงว่า
ข้าพเจ้าขอยกทรัพย์สินนั้น ทรัพย์สินนี้ ให้แก่บุคคลนั้น บุคคลนี้ โดยไม่มีข้อความว่า เมื่อข้าพ
เจ้าถึงแก่ความตาย
ไม่เป็นพินัยกรรม จะเป็นเพียงหนังสือแสดงเจตนา ว่าจะให้ซึ่งไม่มีผลตามกฎหมาย

ทายาท โดยธรรม มี 6 ลำดับตามกฎหมาย ทายาทชั้นที่ใกล้ชิดที่สุด คือ บุตร หากผู้ตายมีบุตร ทายาทลำดับอื่นจะไม่ได้รับมรดก
เลย ส่วนผู้ที่เป็นบุตรจะได้เท่าๆ กัน พ่อแม่ของผู้ตายถ้ายังมีชีวิตอยู่จะมีสิทธิได้รับมรดกเหมือนเป็นบุตรด้วย โดยบิดามารดาแต่ละคนจะได้
รับเท่ากับบุตรแต่ละคน ภรรยายผู้ตายจะได้ส่วนแบ่งทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสมาก่อนกึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลืออีกกึ่งหนึ่ง ที่เป็นของผู้ตายเท่านั้น
จึงเป็นมรดกของผู้ตาย หากผู้ตายมีบุตรภรรยา จะได้รับมรดกเท่ากับ บุตรหนึ่งคน

หากผู้ใดไม่ประสงค์จะให้ทายาทของตนเข้รับมรดกสามารถกรทำได้โดยการตัดมิให้รับมรดก การตัดมรดกจะทำได้โดยผู้ที่ประสงค์
จะตัดมรดกจดแจ้งความจำนงค์หรือความประสงค์นั้น ต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง โดยให้กระทำ ณ ที่ทำการเขต ผู้ที่ทำการปิดบัง ซ่อนเร้น
ทรัพย์มรดก หรือทายาท จะถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก เมื่อทายาทคนใดถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ทายาทของบุคคลที่ตายนั้นสามารถเข้า
รับมรดกแทนที่ทายาทที่ตายนั้นได้ เช่น ลูกที่ตายก่อนพ่อลูกของลูกที่ตายนั้นสามารถเข้ารับมรดกแทนพ่อของตนซึ่งตายก่อนจากเจ้ามรดก
ได้

การยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น จะต้องยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ โดยดูจากภูมิลำเนาของผู้ตายในขณะที่
ตาย ไม่ใช่ว่าเจ้ามรดกถึงแก่กรรมที่ใด ก็ยื่น ณ ท้องที่นั้นและไม่ใช่ยื่นตามภูมิลำเนาของผู้ยื่นคำร้อง การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง ผู้จัดการ
มรดกต้องแสดงใบมรณะบัตรของผู้ตาย บัญชีทรัพย์มรดก บัญชีเครือญาติ พร้อมเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกต่อศาล

ผู้สามารถร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาท แต่จะเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ผู้จัดการมรดกแม้จะเป็นโดยคำสั่งศาล ก็ต้องจัดการมรดกตามกฎหมาย หรือตามพินัยกรรมกำหนด มิฉะนั้นอาจถูกทายาทฟ้องร้องได้
ทั้งในความผิดอาญาและทางแพ่ง การแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนท่านสามารถแจ้งความร้องทุกจ์ต่อพนักงานสอบสวน ณ
สถานีตำรวจท้องที่ใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสถานีตำรวจซึ่งอยู่ใน ท้องที่เกิดเหตุเท่านั้น การแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
จะให้มีผลทางกฎหมาย

ผู้เสียหายต้องมีความประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี หากแจ้งความ เพื่อเป็นหลักฐาน แต่เพียงอย่างเดียว ตามกฎหมาย
จะถือว่าไม่มีการแจ้งความ

ความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญาหากผู้เสียหาย มิได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนภายใน 3 เดือน
นับแต่วันที่รู้ที่ถึงการกระทำความผิด จะถือว่าคดีขาดอายุความ ความผิดอันยอมความได้ เช่น ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกงทรัพย์
หมิ่นประมาททำให้เสียทรัพย์ ข่มขืนกระทำชำเรา
(ต้องดูอายุของหญิงผู้เสียหายเป็นเกณฑ์ด้วย)

ผู้ใดกระทำชำเราหญิงซึ่งอายุไม่เกิน 15 ปี แม้ว่าหญิงนั้นจะยินยอม ก็ตามก็ยังคงมี ความผิดตามกฎหมายอาญา

การกระทำที่จะต้องได้รับโทษทางอาญาผู้กระทำจะต้องมีเจตนาเท่านั้น เว้นแต่บางความผิดที่ กฎหมายให้รับโทษ ถึงแม้ว่า
ได้กระทำโดยประมาท เช่น กระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้เพลิงไหม้ หรือให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นต้น สิทธิเลือกตั้งย่อมมีเมื่อ
อายุครบ
18 ปีบริบูรณ์ แต่การบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ การสมรส ชายและหญิงต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์
และบิดามารดให้ความยินยอม


ภาษีเงินได้นิติบุคคล

1. การเสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยใช้
แบบแสดงรายการ ภ
... 50 และยืนแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน
นับแต่วันแรกของรอบบัญชีโดยใช้แบบ ภ
... 51

รอบระยะเวลาบัญชีสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องเท่ากับ 12 เดือน โดยจะเริ่มต้นใน เดือนใดก็ได้ตาม
ที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

2. อัตราการเก็บภาษี คือเก็บอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิของนิติบุคคลนั้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณี (SMEs)

1. กิจการที่เข้าข่ายเป็นวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ตามพระราช บัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม พ.ศ.
2543 กำหนดไว้ว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยมีเกณฑ์ในการให้คำ
จำกัดความตามปริมาณของการจ้างงานและสินทรัพย์ถาวร ดังตารางต่อไปนี้

วิสาหกิจขนาดย่อม ได้แก่
ประเภทกิจการ............ การจ้างงาน............มูลค่าสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่รวมที่ดิน
กิจการผลิตสินค้า...... ไม่เกิน 50 คน ....................ไม่เกิน 50 ล้านบาท
กิจการให้บริการ ........ไม่เกิน 50 คน ....................ไม่เกิน 50 ล้านบาท
กิจการค้าส่ง ..............ไม่เกิน 25 คน ....................ไม่เกิน 50 ล้านบาท
กิจการค้าปลีก ...........ไม่เกิน 15 คน ....................ไม่เกิน 30 ล้านบาท

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่
ประเภทกิจการ ......................การจ้างงาน ..........................มูลค่าสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่รวมที่ดิน
กิจการผลิตสินค้า ....เกิน 50 คนแต่ไม่เกิน 200 คน .......................ไม่เกิน 200 ล้านบาท
กิจการให้บริการ...... เกิน 50 คนแต่ไม่เกิน 200 คน .......................ไม่เกิน 200 ล้านบาท
กิจการค้าส่ง............ เกิน 25 คนแต่ไม่เกิน 50 คน .........................ไม่เกิน 100 ล้านบาท
กิจการค้าปลีก......... เกิน 15 คนแต่ไม่เกิน 30 คน...........................ไม่เกิน 60 ล้านบาท

2. สำหรับกรณีที่มีทุนชำระแล้ว ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเกิน 5 ล้านบาทขึ้นไป ยังคงต้องเสียภาษีเงินได้
นิติบุคคลในอัตราร้อยละ
30 จากกำไรสุทธิตามปกติกรณีได้ปรับลดอัตราภาษีสำหรับกิจการ SMEs ต้องเป็นกรณีที่ผู้ประกอบกิจ
การมีทุนที่ชำระแล้ว ในวันสุดท้ายของการสอบบัญชีไม่เกิน
5 ล้านบาท จะได้รับการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับ
กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีซึ่งเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ดังนี้

กำไรสุทธิ

อัตราภาษี

1-1,000,000

15

1,000,001-3,000,000

25

3,000,001 ขึ้นไป

30

ที่มา SMEC, UTCC