การคิดแบบ Six Thinking Hats ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ต่อการบริหารมองอะไรได้กว้างและลึกขึ้น



ความคิดสร้างสรรค์ ดูเผินๆ อาจไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับคนส่วนใหญ่ เข้าทำนอง มีก็ดี ไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะทุกคนยินยอมรับกันว่า
ความคิดสร้างสรรค์เป็นพรสวรรค์เฉพาะบุคคล

แต่ในยุคนี้ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะสิ่งที่จะช่วยให้เรา "แตกต่าง" และ มี มูลค่าเพิ่ม มากกว่าใครอื่นได้ก็คือ
"ความคิด สร้างสรรค์" (Creativity) นั่นเอง เพราะเราอาจจะใช้ความคิด ดังกล่าวนี้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้มากมายหรือมีวิธีการคิด แก้ปัญหา
อย่างมี กลยุทธ์รอบด้าน ลึกซึ้ง

ไม่ใช่เฉพาะด้านการงานเท่านั้น แต่ความคิดสร้างสรรค์ ยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่งชีวิตครอบครัวได้

ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ปรมาจารย์ทางด้านการคิดชาวอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วโลก เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดเรื่อง Lateral Thinking
(การคิดนอกกรอบ) เขาได้ศึกษาและคิดค้นวิธีคิด ( Thinking Method) เพื่อช่วยให้มนุษย์มีการคิดที่มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์ และ ครอบ
คลุมรอบด้านยิ่งขึ้น เขาจึงเสนอวิธีคิดแบบ " Six Thinking Hats" หรือการคิดแบบหมวก 6 ใบ ซึ่งเป็นวิธีคิดที่มีมุมมองแบบ "รอบด้าน"
ความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้บริหาร เพราะนอกจากจะช่วยสร้างสิ่งใหม่ๆ แล้ว ยังช่วยในการคิดค้นกลยุทธ์ แก้ไข
ปัญหาต่างๆ

"มันเริ่มจากดอกเตอร์เดอ โบโน ได้ค้นพบว่า การทำงานของสมอง มันมีระบบข้อมูลแบบจัดการด้วยตัวเอง หรือ "Self Organizing
Information System" คือ การที่สมองของเราจัดข้อมูลที่รับรู้ไว้เป็นกล่องๆ

อย่างเช่นเราไปไหนครั้งแรก อาจจะยังไม่คุ้น แต่พอไปครั้งที่ 2 เราไม่ตื่นเต้นอีก เพราะสมองของ เราได้สร้างแพทเทิร์นข้อมูลไว้แล้ว

เหมือนฝนตก แต่ละเม็ดต่างก็ตกลง แต่ก็มารวมตัวกัน เป็นทางน้ำเล็กๆ ทีนี้พอฝนตกลงมาอีก เมื่อมีทางน้ำอยู่ น้ำก็เลือกที่จะไหลไป
ทางเดียวกัน กลายเป็นร่องน้ำใหญ่ขึ้น สมองของเราก็ทำงาน แบบนี้เหมือนกันเปี๊ยบ คือ พอเราทำอะไรซ้ำๆ ก็จะจำได้โดยอัตโนมัติ

แต่มันก็มีจุดอ่อน คือ เราจะคิดเฉพาะสิ่งที่เรามีประสบการณ์ ทำให้เราคิดในสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมได้ยาก

ดอกเตอร์เดอ โบโน ท่านบอกว่า เราไม่สามารถขุดรูใหม่ด้วยการขุดรูเก่าให้มันลึกขึ้นได้ เหมือนกับคำว่า "ติดรูปแบบ" หรืออะไรอย่าง
นี้ เพราะพอเราชินกับของเดิม เราก็คิดอะไรใหม่ไม่ออก เราทำแบบนี้มาตั้งนานแล้ว เหมือนกระแสน้ำที่มันใหญ่ขึ้นๆ เรื่อยๆ

ดอกเตอร์ก็เลยมาศึกษาจากคนที่ครีเอทีฟ คนที่คิดอะไรใหม่ๆ ว่า เขาสามารถคิดได้อย่างไร

ปรากฏว่า "เขาคิดข้ามกล่อง" คือเอาข้อมูลหนึ่งมาเชื่อมกับอีกข้อมูลหนึ่ง เหมือนกับการคิดนอกกรอบ ซึ่งต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ก็คือ
ดึงข้อมูลชุดหนึ่งไปเชื่อมกับข้อมูลอีกชุดหนึ่ง แล้วนำมาทำให้มันเกี่ยวข้องกันให้ได้

"เดอ โบโน" พบว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ ทุกคนมีอยู่ หรือสร้างขึ้นมาได้ แต่จะต้องมาฝึกกระบวนการสร้างความคิดดังกล่าว
โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หาเหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยให้คิดพิจารณาสิ่งต่างๆ
ได้ครอบคลุมและมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสน

ในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอน ทุกคนย่อมต้องมีการคิดในเรื่องต่างๆ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน จึงได้ให้เทคนิค 6 หมวกการคิด เพื่อช่วย
จัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีการดังกล่าวได้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งบริษัทข้ามชาติอย่างเช่น
บริษัท ไอบีเอ็ม และเซลส์ เป็นต้น หมวกแต่ละใบเป็นการนำเสนอทางเลือกที่เป็นไปได้ตามมุมมองต่างๆ ของปัญหา โดยวิธีการสวมหมวกทีละ
ใบในแต่ละครั้ง เพื่อพลังของการคิดจะได้มุ่งเน้นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ความเห็นและความคิดสามารถแสดง
ออกได้อย่างอิสระ สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำเป็นได้ และยังเป็นการดึงเอาศักยภาพของแต่ละคนมาใช้โดยที่ไม่รู้ตัว

Six Thinking Hats สูตรบริหารความคิดของ "เดอ โบโน" จะประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี คือ

ภาพ

สี

ความหมาย

White Hat
หมวกสีขาว

สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น คือ ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ ไม่ต้องการความคิดเห็น

Red Hat
หมวกสีแดง

สีแดงเป็นสีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ

Black Hat
หมวกสีดำ

สีดำ เป็นสีที่แสดงถึงความโศกเศร้า และการปฏิเสธ เมื่อสวมหมวกสีนี้ ต้องพูดถึงจุดด้อย อุปสรรคโดยมีเหตุผลประกอบ ข้อที่ควรคำนึงถึง เช่น เราควรทำสิ่งนี้หรือไม่ ไม่ควรทำสิ่งนี้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดมีความรอบคอบมากขึ้น

Yellow Hat
หมวกสีเหลือง

สีเหลือง คือสีของแสงแดด และความสว่างสดใส เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายถึง การคิดถึงจุดเด่น โอกาส สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลในเชิงบวก เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

Green Hat
หมวกสีเขียว

สีเขียว เป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์

Blue Hat
หมวกสีน้ำเงิน

สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบ จะเป็นเหมือนท้องฟ้า หมวกนี้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารกระบวนการคิด หรือการจัดระเบียบการคิด

 

ดร. เดอ โบโน ได้ยกตัวอย่างการนำวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ มาใช้ในการบริหารองค์กร เช่นในที่ประชุมแทนที่ทุกคน จะตั้งป้อมหาเหตุ
ผล มาหักล้างกัน ผู้บริหารอาจจะเริ่มให้ทุกคนสวมหมวก สีขาว คิดด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของแต่ละ คนออกมา ไม่ต้องวิเคราะห์หรือ
ถกเถียงว่าข้อมูลของใครดีกว่าใคร ต่อมาถึงขั้นการคิดแบบ หมวกสีแดง ทุกคนสามารถ แสดงอารมณ์ความรู้สึกในเรื่องนั้นได้เต็มที่ จาก นั้น
หมวกสีดำ ขั้นตอนของการใช้เหตุผลวิพากษ์ วิเคราะห์ ตั้งข้อสงสัย ข้อควรระวัง ตามด้วย หมวกสีเหลือง ทุกคนจะหาแง่มุมด้านบวก ของประ
เด็น ( แม้คนที่ไม่เห็นด้วยก็ต้องพยายามหาแง่บวก ของประเด็นนั้น ) ลำดับสุดท้ายเมื่อทุกคนสวมหมวกสีฟ้า จะเป็นการมองภาพ รวมหาบท
สรุป และสำรวจความคืบหน้าของ การคิดหรือการอภิปรายที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ต้น

"การประชุมแบบ Six Hats เราจะใช้บลูเป็นตัวเปิด บอกวัตถุประสงค์การประชุมว่า ตอนนี้เรากำลังแก้ปัญหาอะไรอยู่ ถ้าเป็นการประชุม
ตามปกติ คนชื่อ "เอ" ก็จะบอกว่า เราทำอย่างนี้ไม่ดีเพราะอะไรๆ เรียกว่าเป็น Black Hat

ส่วน "บี" ก็จะบอกดี คือ Yellow Hat ซึ่งเอก็จะคิดแบบเอ บีก็คิดแบบบีนั่นแหละ เพราะเขามองจาก กล่องความคิดของเขา นี่คือการ
ประชุมแบบทั่วไป มันจะไม่จบง่ายๆ

แต่ Six Hats คือ การคิดโดยเรียงทีละ Hat เช่น เราเริ่มจากบลู แล้วก็ไปกรีน คือหาวิธีแก้ปัญหานั้นๆ ว่าจะมีทางออกอย่างไรบ้าง คิดร่วม
กัน จากนั้นก็มาเช็คเยลโลว์ ดูว่าทำอย่างนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง แล้วก็มาเช็คแบล็คว่ามีปัญหาอะไรไหม แล้วเราเอากรีนมาแก้แบล็คอีกที เช็คเรด
ว่าถูกใจทุกคนไหม แล้วหากรีนมาแก้อีกทีหนึ่ง บลูสรุป ทีนี้มันจะเป็นเอกฉันท์

แต่ละกรณี เราอาจจะเริ่มจาก Hat ที่ต่างกันได้ แต่จะมีกรีนแก้ มันทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่คิด ไม่หวังมาก่อน

ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในบ้าน บริษัท ครม. ถ้ามีเครื่องมือคิดแบบนี้ มันจะทำให้เราหลุดจากปม ที่ค้างอยู่ ตัวนี้จะเป็นเครื่องมือคลายปม
หรือถ้าเราสะดุด ก็แก้ได้ เพราะหลังกรีนก็มีเยลโลว์ เพราะแต่ละความคิด แต่ละครั้งก็จะมีประโยชน์แฝงอยู่"

กระบวนการคิดแบบ Six Thinking Hats จึงเริ่มจากการคิด ในสิ่งเดียวกัน และคิดร่วมกัน ในแต่ละประเด็น ทำให้ลดความขัดแย้งลงไป
ได้มาก ทั้งยังเป็นการ ดึงเอาศักยภาพ ของแต่ละคนมาใช้โดยที่ไม่รู้ตัว

นอกเหนือจาก Six Thinking Hats แล้ว ยังมีความรู้ที่เรียกว่า Lateral Thinking หรือ "เทคนิคการคิดสร้างสรรค์" ซึ่งจะช่วยให้เราคิด
ออกไปนอกกรอบเดิม สามารถแก้ปัญหา ตลอดจนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ได้

"เมื่อเราสร้าง Six Thinking Hats ขึ้นมา แล้วเอา Lateral Thinking หรือความคิดสร้างสรรค์ มาพิจารณาไตร่ตรอง ให้ครบทุกด้าน ก็จะ
ได้เป็นความคิดที่มีคุณภาพ เพราะตัว Lateral นี้ถือเป็น Green Hat นั่นเอง อย่างครีเอทีฟบางที เขาคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่ได้มองอะไรรอบด้าน
ขณะที่เทคนิคการคิด อย่างสร้างสรรค์นี้ มันจะช่วยให้เราคิดอะไรอย่างสร้างสรรค์ คำนึงถึงรอบด้าน"

เมื่อแรกเริ่มที่หนังสือเกี่ยวกับ Six Thinking Hats ออกมา ดร.รัศมี กล่าวว่า ผู้คนฮือฮามาก "คือ ดังระเบิดโลก แต่ก็มีคนโทร มาต่อว่า
ดอกเตอร์เหมือนกัน เพราะทุกคนอ่านหนังสือ แล้วก็เอาไปสอน ไปแนะนำผิดๆ ถูกๆ พอปี 1992 ดอกเตอร์เดอ โบโน เลยกำหนดหลักสูตร อบรม
สำหรับผู้ที่จะมีสิทธิ์สอน ซึ่งคนที่ไม่ได้ผ่านการอบรม จะไม่มีสิทธิ์สอน เพราะหนังสือมันจะบอกแค่ Six Thinking Hats คืออะไร เป็นอะไร แต่
How นั้นจะเป็นอะไรที่อยู่ในใจ"

ตั้งแต่ปี 1992 จึงมีการเปิดสอนหลักสูตร Six Thinking Hats ในประเทศต่างๆ จนมีประมาณ 700 กว่าศูนย์ทั่วโลก โดยผู้บริหาร พนักงาน
ในประเทศต่างๆ ได้เข้าเรียน สัมมนากับ ดร.เดอ โบโน ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ที่ผ่านมา และนำไปใช้ จนเกิดประโยชน์หลากหลายรูปแบบ เช่น

เจ.พี. มอร์แกน บริษัทยักษ์ใหญ่ ใช้วิธีการประชุมแบบ Six Thinking Hats สามารถลดเวลาประชุมได้ 80% ไอบีเอ็มใช้วิธีนี้ 2 ปี ลดเวลา
ประชุม 75% บริษัทเอ บี บี ซึ่งเป็นบริษัท ก่อสร้างยักษ์ใหญ่ของฟินแลนด์ จากที่เคยประชุมกันเป็นเดือน ในการประชุมนานาชาติ ขณะนี้ใช้เวลา
ประมาณ 2 วัน

ส่วนในประเทศไทย ทีมวิศวกรของบริษัทแห่งหนึ่งใช้ Six Thinking Hats และ Lateral Thinking ในการแก้ปัญหาสำคัญ ปัญหาหนึ่ง
ทำให้บริษัทสามารถ ประหยัดเงินได้ถึง 20 ล้านบาท ในโครงการหนึ่ง และประหยัด 2 ล้านบาทในอีกโครงการหนึ่ง บริษัทรถยนต์แห่งหนึ่งใน
ไทยสามารถ ทำให้เขาขายรถ เพิ่มขึ้นจาก 10 คัน เป็น 35 คัน ในยุควิกฤติเศรษฐกิจ

"ประโยชน์ที่ได้ก็เช่น ถ้าเป็นผู้บริหารเมื่อมีปัญหา เขาจะสามารถหาวิธีแก้ปัญหาได้อย่างมีคุณภาพ มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้
องค์กร ที่มีผู้บริหาร เหล่านี้ได้รับประโยชน์ไปในตัว ถ้าเป็นผู้ร่วมงาน จะสามารถทำงาน และคิดอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น หรือถ้าเป็นครอบครัว มันจะ
ไม่ทำให้เราง่วน อยู่แต่กับปัญหา แต่มันสอนให้คนคิด ในทางสร้างสรรค์ ครอบครัวก็มั่นคงขึ้น และถ้าทุกคนช่วยกันคิดสร้างสรรค์ มีทางออกที่ดี
ประเทศชาติก็เจริญได้" ผู้อำนวยการศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ กล่าว

ความคิดสร้างสรรค์มีแฝงอยู่ในตัวของคนทุกคน แต่อาจจะผลิบาน หรือเหี่ยวเฉาก็ขึ้นอยู่กับวิธีคิดของคนนั้นๆ ลองเรียนรู้ที่จะนำความ
คิดเหล่านี้ มาเชื่อมโยงกับการทำงาน กับชีวิตจริง แล้วจะรู้ว่าคุณ ก็มีความคิดดีๆ อย่างที่คาดไม่ถึง


ประโยชน์ของการใช้ 6 หมวกการคิด มีดังนี้

  1. ประเมินความรอบรู้ของทุกกลุ่ม
  2. จำกัดโอกาสหรือช่องทางสำหรับการโต้เถียงหรือโต้แย้งกัน
  3. ประหยัดเวลาในการประชุม โดยการคิดแบบคู่ขนาน
  4. ลดการหลงตัวเองหรือการชอบแสดงอำนาจ
  5. ทำให้มีเวลาที่จะถกเถียงปัญหาในแต่ละมุมมอง นับเป็นแนวคิดและเทคนิคที่มีประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการยุคใหม่ ที่ช่วยให้การ
    แก้ปัญหามีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด

ที่มาข้อมูล : http://www.nationejobs.com/content/learn/quickcourse/template.asp?conno=4

ที่มาข้อมูล : http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/develop/News6hat.html