Five Forces Model คืออะไร

Five forces Model คือ Model ที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันที่เกิดจากแรงทั้งห้า ซึ่งถูกนำเสนอโดย Michale E.Porter
กูรูทางด้านการวางกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ของ Harvard Business School

Porter ได้กล่าวไว้ว่า สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมใดๆ ก็ตามแต่ จะถูกกำหนดด้วยแรงทั้งห้า แรงทั้งห้า ได้แก่

1. อุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรม (Barriers to entry) ซึ่งประกอบไปด้วย อุปสรรค 7 ประการดังนี้

1.1. Economic of Scales หรือ การที่มี Volume ซื้อวัถตุดิบ หรือ ผลิตภัณฑ์ ที่จะนำมาใช้ในการผลิตในปริมาณมาก จะทำ
ให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง ดังนั้น ผู้ประกอบการที่มี Economic of Scales สูง ย่อมได้เปรียบผู้ประกอบการที่มี Economic of
Scales ต่ำ

1.2. Product Differentiation หรือ ความแตกต่างของสินค้า หรือ บริการ จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างตราสินค้า
ได้แข็งแกร่ง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการสู่ธุรกิจ หรือ อุตสาหกรรมนั้นๆ สำหรับ ผู้ประกอบที่มีสินค้า และบริการที่ไม่มีความ
แตกต่าง หรือ มีความแตกต่าง หรือ โดดเด่นน้อยกว่า

1.3. Capital Requirement หรือ จำนวนเงินทุนที่ใช้ในการลงทุน ในธุรกิจหนึ่ง ถ้าหากต้องใช้เงินทุนสูง ก็จะทำให้ยากที่
เข้าสู่ธุรกิจ หรือ อุตสาหกรรมนั้นๆ

1.4. Switching Costs หรือ ต้นทุนในการเปลี่ยนการใช้สินค้า และบริการ ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ต้นทุนตัวนี้ จะมากหรือ
น้อย ขึ้นกับ ความภักดีที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีต่อตราสินค้าหนึ่งๆ ซึ่งสืบเนื่องมาจาก ความแตกต่างของสินค้า และบริการ
แต่ละชนิด

1.5. Access to Distribution Channels หรือ การมีจุดกระจายที่สินค้าที่ดี ที่กระจายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ก็เป็นสิ่งที่ผู้
ประกอบการจะต้องคำนึงถึง ผู้ประกอบการรายใดที่ขาด หรือ มีจุดกระจายสินค้าที่ด้อยกว่า คู่แข่ง ก็ทำให้เกิดการเสีย
เปรียบในการแข่งขัน

1.6. Cost Disadvantages Independent of Scale หรือ การที่ผู้ประกอบการที่เข้ามาในอุตสาหกรรมก่อน ได้มีการพัฒนา
ในเรื่องการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการลดต้นทุน และประสบการณ์จากการเรียนรู้ข้อผิด
พลาดต่างๆ (Learning Curve) จะช่วยให้ผู้ประกอบการที่เข้ามาก่อนได้เปรียบเหนือกว่าผู้ประกอบที่คิดจะเข้าสู่อุตสาหกรรม

1.7. Government Policy หรือ นโยบายของรัฐ มีการควบคุม หรือ เกื้อกูลต่อผู้ประกอบการ อย่างไร เช่น อาจจะมีการให้
สัมปทาน เป็นต้น

2. Intensity of Rivalry among Existing Competitor หรือ การแข่งขันที่มีอยู่เดิม มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 8 ประการดังนี้

2.1. Numurous or Equally Balanced Competitors หรือ จำนวนคู่แข่งที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน กล่าวคือถ้าหากไม่มีผู้นำ
การตลาดอยู่ การแข่งขันก็จะสูง เพราะแต่ละรายมีศักยภาพใกล้เคียง กัน

2.2. Slow Industry Growth หรือ อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมนั้นๆ เริ่มหดตัว กล่าวคือ ขนาดตลาดลดขนาดลง ทำให้
เกิดการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้น

2.3. High Fixed of Storage Costs หรือ การเพิ่มกำลังการผลิตที่สูงมากเกินไปของธุรกิจในอุตสาหกรรมอาจจะนำไปสู่
สงครามการตัดราคาได้

2.4. Lack of Differentiation of Switch Costs หรือ การที่สินค้า และบริการของอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่มีความแตกต่าง ดังนั้น
จึงทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยปัจจัยในเรื่อง ราคา และบริการ

2.5. Capacity Augmented in Large Increment หรือ การเพิมกำลังผลิตมากจนเกินไป ทำให้การภาวะการล้นตลาดของ
สินค้า และบริการ ในอุตสาหกรรมนั้น นำไปสู่สภาวะการตัดราคา

2.6. Diverse Competitors หรือ คู่แข่งบางรายในอุตสาหกรรมนั้นปรับเปลี่ยนนโยบายในการแข่งขันบ่อยครั้ง ส่งผลให้
การแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นๆ ยากแก่การคาดการณ์ และกำหนดกลยุทธ์

2.7. High Strategic Stakes หรือ มีธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จหลายบริษัท เข้าสู่อุตสาหกรรมนั้น

2.8. High Exit Barries หรือ ความยากลำบากในการถอนตัวจากอุตสาหกรรมนั้น เช่น ได้ลงทุนไปเป็นเงินจำนวนมหาศาล ถ้า
ถอนตัวจะไม่คุ้มค่า จึงทำให้ธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้นจะเป็นจะต้องต่อสู่เพื่อความอยู่รอด ซึ่งส่งผลให้การแข่งขันรุนแรง

3. Pressure from Substitute หรือ สินค้าชนิดใหม่ ที่จะมีทดแทนสินค้าชนิดเดิมที่มีอยู่ ทำให้อุตสาหกรรมนั้นมีแนวโน้มที่จะมีการ
แข่งขันที่สูงมากขึ้น

4. Bargaining Power of Buyers หรือ อำนาจต่อรองของลูกค้า หรือ อำนาจในการต่อรองให้สินค้ามีราคาต่ำลง แต่ต้องการคุณภาพ
ที่ดีขึ้น หรือ บริการที่ดีขึ้น

5. Bargaining Power of Suppliers หรือ อำนาจต่อรองของผู้ขาย โดยการขึ้นราคาวัตถุดิบ หรือ ลดคุณภาพของวัตถุดิบ ปัจจัยต่างๆ
ที่กล่าวในแรงทั้งห้า นั้น ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกัน หรือ พิจารณาในทุกปัจจัย ในแต่ละรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ปัจจัยแต่ละ
ด้านจะเปลี่ยนไป ปัจจัยบางตัวอาจจะไม่มีผลในรูปแบบธุรกิจหนึ่ง แต่อาจจะมีอิทธิพลต่ออีกรูปแบบธุรกิจหนึ่ง

ที่มาข้อมูล : หนังสือ "Competitive Advantage", Micheale E.Porte